ศิลปะบำบัด การฝึกสมาธิที่ทำได้ด้วยตนเอง

            ปัจจุบันนี้การอยู่ในสังคมที่ยุ่งเยิงได้สร้างความสับสนให้กับจิตใจของคนเราเป็นอย่างมาก ในแต่ละวันจิตใจจะต้องรับรู้รับฟังเรื่องราวมากมาย จนทำให้จิตใจเกิดความฟุ้งซ่าน ซึ่งหากจิตใจมีความฟุ้งซ่านเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา จิตที่เข้มแข็งจะเกิดความเหมื่อยล้าและอ่อนแอลงเรื่อย ๆ จนเข้าสู่ภาวะที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้า ที่เป็นต้นกำเนิดของการคิดฆ่าตัวตายที่เกิดขึ้นมากในสังคม ดังนั้นก่อนที่จิตจะเกิดการฟุ้งซ่านจนไม่สามารถควบคุมได้ เราต้องรู้จักฝึกจิตให้สงบ ซึ่งวันนี้เรามีวิธีการฝึกจิตด้วยงานศิลปะ             งานศิลปะที่สามารถนำมาใช้การฝึกจิตให้สงบได้นั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นงานฝีมือระดับมืออาชีพหรืองานศิลปะที่มีต้นทุนที่แพง แต่งานศิลปะทุกอย่างล้วนสามารถช่วยในการฝึกจิตให้สงบได้เท่านั้น โดยหลักในการเลือกให้เลือกงานที่ตัวท่านเองมีความชื่นชอบและสามารถทำได้ เช่น การปักผ้า การวาดรูประบายสี การเขียนบทกลอนบทกวี การถ่ายรูป การร้องเพลง การเล่นดนตรี การเย็บปักถักร้อย การทำอาหาร การทำขนม การปลูกไม้ดัด เป็นต้น ซึ่งทุกอย่างล้วนเป็นงานที่ต้องใช้ศิลปะในการสร้างสรรค์ผลงานออกมา             การเลือกเอางานที่ชอบมาเป็นใช้ในการฝึกจิตจะทำให้เราสามารถควบคุมจิตใจให้จดจ่ออยู่กับงานดังกล่าวได้นานขึ้น ทำให้จิตมีสมาธิอยู่กับงานตรงหน้า ไม่ฟุ้งซ่านคิดเรื่องโน้น คิดเรื่องนี้ไปเรื่อยเปื่อย เพราะการคิดอย่างไร้สาระเช่นนี้ หากคิดรวมกับการจินตนาการในทางลบอาจจะทำให้มุมมองเห็นแต่ปัญหาและความเดือดร้อน แต่หากคิดในแง่บวก มองเห็นปัญหาและทางแก้ไขย่อมดี แต่คนส่วนมากมักจะคิดไปทางลบเสียมากกว่า หากในช่วงเวลาการคิดนั้น จิตมีความฟุ้งซ่าน ไม่มีสมาธิในการพิจารณาที่ดี ดังนั้นการหางานศิลปะที่ตนเองมีความชอบมาทำ และจดจ่ออยู่กับงานตั้งแต่ 30 นาทีขึ้นไปต่อครั้ง ก็จะช่วยฝึกจิตให้มีความสงบมากขึ้น มีสติในการใช้ชีวิต สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี             ดังนั้นทุกวันหรือทุกอาทิตย์ เพื่อเป็นการฝึกจิตที่ฟุ้งซ่านกับสิ่งที่มากระทบรอบกาย ทุกคนควรที่จะหางานศิลปะมานั่งทำ เพื่อเป็นการฝึกจิตให้มีสงบและมีสมาธิมากขึ้น งานศิลปะทุกชนิดมีข้อดีทั้งสิ้น ไม่ว่าคุณจะเลือกงานแบบไหนมาทำก็จะช่วยให้จิตใจของคุณสงบ เยือกเย็นได้ แม้ความสงบที่ได้จะเป็นแบบชั่วครู่ แต่ก็สามารถช่วยพัฒนาจิตใจให้เข้มแข็งพร้อมต่อสู้กับปัญหาที่เผชิญได้อย่างมั่นคง

สำหรับเด็กก่อนวัยเรียนควรเน้นศิลปะแบบใด

            เด็กก่อนวัยเรียนเป็นช่วงที่เด็กมีพัฒนาทางด้านสมองและกล้ามเนื้อมากที่สุด หากช่วงนี้มีการกระตุ้นอย่างถูกวิธีแล้ว เด็กจะโตขึ้นมามีศักยภาพพร้อมทั้งด้านร่างกาย จิตใจและสมองอย่างครบถ้วน ซึ่งเด็กในวัยนี้ไม่ควรได้รับการกระตุ้นด้วยการเรียนรู้ทางวิชาการ ด้วยการเรียนในห้องเรียนหรือเรียนเกี่ยวเช่นเดียวกับเด็กโต แต่การกระตุ้นพัฒนาการจะต้องทำการกระตุ้นผ่านการเล่นและการฟังถึงจะส่งผลดีเมื่อเด็กโตขึ้น ดังนั้นวันนี้เราจึงมีงานศิลปะที่สามารถช่วยกระตุ้นพัฒนาการสำหรับเด็กก่อนวัยเรียนที่คุณพ่อคุณแม่สามารถทำร่วมกับลูกที่บ้านเพื่อเสริมสร้างพัฒนาการได้ 1. ระบายสี             การระบายสีสำหรับเด็กก่อนวัยเรียนจะไม่ได้เป็นการวาดภาพที่มีรายละเอียดหรือการระบายสีที่ต้องอยู่ในกรอบรูปภาพ แต่เป็นการระบายสีตามความต้องการของเด็ก เป็นการปลดปล่อยจินตนาการของเด็กให้ออกมาด้วยการระบายสี เช่น การใช้มือจุ่มสีและวางบนกระดาษ เป็นต้น ซึ่งการระบายสีแบบนี้ พ่อแม่อาจจะมองว่าเลอะเทอะไม่ใช่งานศิลปะ แต่นั้นคืองานศิลปะในมุมมองของเด็ก ที่สร้างสรรค์ตามความคิดและความสามารถที่เขาสามารถทำได้ในตอนนี้ หน้าที่ของพ่อแม่คือร่วมทำกิจกรรมและให้คำชมในผลงานที่ลูกได้ทำออกมา อย่าตำหนิหรือห้าม เพราะจะเป็นการลดความมั่นใจของตัวเด็ก ทำให้เด็กไม่อยากเล่น ส่งผลให้พัฒนาการของลูกลดลงได้ 2. การก่อกองทราย             การก่อกองทรายเป็นการสร้างรูปทรงตามภาชนะที่เด็กใช้ในการเล่น ดังนั้นในการเล่นทรายควรมีอุปกรณ์ที่มีรูปร่างหลากหลายให้เด็กได้ใช้ในการใส่ทรายและทำเป็นรูปร่างขึ้น จากผลงานวิจัยพบว่าการเล่นทราย นอกจากจะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการที่ดีแล้ว ยังสามารถช่วยควบคุมการแสดงออกทางอารมณ์ให้ดีขึ้น ลดความก้าวร้าว ความเจ้าอารมณ์ของเด็กลงอย่างได้ผลอีกด้วย 3. การปั้นดินน้ำมัน             ปัจจุบันนี้มีดินที่มีลักษณะคล้ายดินน้ำมันที่เด็กนำมาปั้นเล่นได้หลายชนิด เช่น ดินเกาหลี ดินญี่ปุ่น ดินเบา เป็นต้น โดยดินแต่ละชนิดถึงแม้จะมีคุณสมบัติที่ต่างกัน แต่ก็ไม่มีสารเคมีที่อันตรายต่อเด็ก ซึ่งการปั้นดินน้ำมันเด็กจะได้ฝึกควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ และให้ความคิดสร้างสรรค์ในการปั้นดินน้ำมันออกมาเป็นรูปร่างต่าง ๆ การปั้นจึงเป็นหนึ่งในงานศิลปะที่เหมาะกับเด็กก่อนวัยเรียน             งานศิลปะที่กล่าวมานี้ล้วนมีประโยชน์ต่อเด็กก่อนวัยเรียน โดยจะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการของเด็กอย่างครบถ้วน มีพัฒนาการที่ดีทั้ง EQ และ IQ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรสรรหากิจกรรมเหล่ามนี้มาเล่นกับลูกเป็นประจำ […]

ศิลปะกับการพัฒนาเด็ก

            เด็ก คือ ผู้บริสุทธิ์ที่เปรียบเสมือนผ้าขาวที่พร้อมจะรับการแต่งแต้มสีสันจากพ่อแม่และคนรอบข้าง ซึ่งเชื่อว่าพ่อแม่ทุกคนย่อมต้องการแต่งแต้มสีบนผ้าขาวให้ออกมาสวยมาและแข็งแรงมากที่สุด แต่การแข่งขันในปัจจุบันนี้พ่อแม่หลายคนพยายามที่จะยัดเหยียดให้ลูกเรียนรู้วิชาการต่าง ๆ เพื่อเด็กสามารถสอบเข่งขันเข้าสู่โรงเรียนชื่อดัง ที่มีการเรียนการสอนที่อย่างเข้มข้นตั้งแต่ช่วงก่อนวัยเรียน ซึ่งการทำเช่นนั้นไม่เป็นผลดีกับเด็กเลย เพราะยิ่งเอาเรื่องวิชาการเข้าสู่สมองของเด็กเร็วกว่าวัยที่ควรจะเป็นนั้น จะทำให้เด็กมีพัฒนาการที่ช้ากว่าปกติเมื่อโตขึ้น แต่การที่จะทำให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีทั้งด้านร่างกายและจิตใจได้จะต้องเน้นไปทางด้านศิลปะมากกว่า             เมื่อกล่าวถึงศิลปะ หลายคนมักจะคิดถึงการระบายสีลงกระดาษหรือพื้นผ้า พร้อมทั้งคิดว่าเด็กไม่มีทางที่จะทำได้ แล้วศิลปะจะช่วยพัฒนาเด็กได้อย่างไร ทั้งที่ความเป็นจริงแล้ว สิ่งที่เรียกว่าศิลปะบนโลกนี้มีอยู่หลายพันหลายหมื่นชนิด ซึ่งศิลปะที่จะช่วยพัฒนาเด็กได้ตั้งแต่วัยอนุบาลเลย เช่น การปั้นดิน การเล่นทราย การขีดเขียน สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นงานศิลปะที่ช่วยให้เด็กมีพัฒนาทางด้านสมองและร่างกายที่ดีขึ้น นั่นหมายความว่า ศิลปะเหมาะกับเด็กทุกวัยตั้งแต่แรกเกิด เพราะตอนแรกเกิดเราใช้สีสันเป็นการกระตุ้นให้เด็กมองเห็น แยกความแตกต่างของสี แยกเสียงของพ่อ แม่ ให้เพลงในการกล่อมลูก เมื่อโตขึ้นมาอยู่ในช่วงก่อนวัยอนุบาล เด็กจะมีการหยิบจับได้ มีการปั้นดินน้ำมัน ปั้นทราย ตักทรายในภาชนะทำออกมาเป็นรูปทรง หรือการขีดเขียนลงบนกระดาษที่ถึงแม้จะไม่เป็นรูปร่างที่ชัดเจน แต่ก็ช่วยกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อและสมองได้เป็นอย่างดี             ดังนั้นหากต้องการกระตุ้นให้เด็กได้ตั้งแต่แรกเกิดขึ้นไป แต่ว่าศิลปะที่นำมาใช้ในแต่ละช่วงวัยจะมีความแตกต่างกันไปตามพัฒนากรของเด็ก ซึ่งศิลปะที่สามารถช่วยพัฒนาเด็กได้ดี ไม่ใช่การเรียนศิลปะ แต่เป็นการใช้ศิลปะผ่านการเล่นของเด็กเท่านั้น เพราะการเล่นจะทำให้เด็กสนุกที่จะเรียนรู้และกระตุ้นการจดจำได้ดี             จะเห็นว่าศิลปะสามารถช่วยพัฒนาเด็กได้ทุกด้าน ตั้งแต่วัยแรกเกิดขึ้นไป ดังนั้นหากต้องการให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีทั้งร่างกายและสมอง ก่อนวัยเรียนของลูก อย่าเอาเนื้อหาวิชาการเข้ามาบังคับให้ลูกเรียนรู้ แต่ให้ใช้ศิลปะในการเล่นเป็นการเรียนรู้ของลูก เพราะเด็กทุกคนมีความเก่งอยู่ในตัว เมื่อถึงเวลาเขาจะแสดงศักยภาพออกมาเอง